MIS คืออะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (MIS)
Ïความเป็นมา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (MIS)
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี

ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 ด้านดังนี้

1)การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี

2)การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3)การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย

กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานของรัฐบาล (E-GOVERNMENT) ด้านการพานิชยกรรม (E-COMMERCE) ด้านการอุตาสาหกรรม (E-INDUSTRY) ด้านการศึกษา (E-EDUCATION) และด้านสังคม( E-SOCIETY)

โดยได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-Education) ดังนี้
เป้าหมาย พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้

4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 – 2549)

ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547– 2549 ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา
พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนา
บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ

3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT
ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน

สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีให้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ

ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับ ให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายใน รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government)และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

1. มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ

2. หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล(Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ

3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย

4. มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICT ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ

5. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน

6. หน่วยงานทุกระดับมี Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ

7. มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ

8. มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information System :GIS)

9. มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน



5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการผลิตลงด้วยนั้น นักบริหารในระยะหลังๆ นี้ พยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือ หนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลง และสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า การจะบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง ดังกล่าวนั้น จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ คือ

1) การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น

2) การบริหารทางไกล (High-Tech Administration)

3) การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)

4) การมองการณ์ไกล (Introspection)

5) การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)

6) การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)

7) การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)

Ïระบบสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของระบบ

ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ
1. ข้อมูลนำเข้า (Input)
2. กระบวนการประมวลผล (Process)
3. ผลลัพธ์ (Input)
4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)

Ïความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดของคน ข้อมูล และวิธีการ ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ เช่น

- อัตราครูต่อนักเรียน - การเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับปัจจุบันกับอดีต

- การเปรียบเทียบผลการดำเนินการนับแต่เริ่มโครงการ

- การเปรียบเทียบผลกำไรต่อการลงทุน

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์การคือคน คนคือผู้สร้างงานผลิต เป็นผู้ใช้บริการ เป็นผู้แก้ปัญหา และเป็นผู้ตัดสินใจ คนที่มีคุณภาพจะเป็นกระดูกสันหลังขององค์การ
ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) เป็นเครื่องมือ

ของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operating Manager) เช่น ระบบสารสนเทศการบัญชี

2. ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System : MIS) เป็นเครื่อง

ของผู้บริหารระดับสั่งการ หรือระดับกลาง (Tactical Manager) มี 3 ประเภท คือ

- รายงานตามตารางการผลิต - รายงานตามต้องการ - รายงานพิเศษ

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) เป็นเครื่องมือของผู้

บริหารระดับนโยบาย หรือระดับสูง (Strategic Manager) และผู้บริหารระดับสั่งการหรือระดับกลาง (Tactical Manager)

4. ระบบการสนับสนุนระดับนโยบาย (Executive Support System : ESS) จำเป็นมากสำหรับการบริหารระดับสูง การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้ วัฏจักรของการพัฒนาระบบ SDLC เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องชัด
บุคลากรในระบบสารสนเทศ

1. ผู้ใช้ (User) ได้แก่บุคคลซึ่งใช้ระบบสารสนเทศเมื่อมีการนำออกมาใช้ ได้แก่ ผู้ใช้

คอมพิวเตอร์ และผู้จัดการ

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จะทำงานร่วมกับผู้ใช้ เพื่อตรวจสอบความจำเป็นที่ต้องใช้สารสนเทศในกระบวนการของผู้ใช้

3. นักออกแบบระบบ (System Designer) เป็นผู้ออกแบบระบบให้ตรงกับความจำเป็นความต้องการของผู้ใช้

4. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ใช้โปรแกรม เพื่อรหัสคำสั่งสำหรับให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาได้



Ïระบบสารสนเทศทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(EIS)

โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย

โดยสามารถที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เป็น Client/Server ,LAN (Netware, WindowsNT) ตัวโปรแกรมเป็นระบบเปิด (Open System) สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft SQL, Informix โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับผู้ดูแลระบบ (Administrator) และส่วนสำหรับผู้ใช้ (User) ส่วนผู้ดูแลระบบจะมีหน้าที่กำหนดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล กำหนดผู้ใช้และคอย

ดูแล ให้การใช้งานโปรแกรมเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนของผู้ใช้นั้น จะมีส่วนกรอกข้อมูลสถิติทางการศึกษา โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา ได้ถูกแบ่งโปรแกรมออกเป็น 7 ระบบ คือ

1.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับสถานศึกษา(EIS1) เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัดตามแบบ รศ.รค. เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป

2.ระบบบริหารสถานศึกษา(EIS2) เป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา

3.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับอำเภอ(EIS3) เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของอำเภอตามแบบ รศภ. เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป

4.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับจังหวัด(EIS4) เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของอำเภอที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานเขตและกระทรวงศึกษาธิการ

5.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับเขตการศึกษา(EIS5)เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัดที่อยู่ในเขตการศึกษานั้นๆ และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับกระทรวงศึกษาธิการ

6.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ(EIS6) เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัด และประมวลผลข้อมูลในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

7.ระบบประมวลผลข้อมูล (EIS7) เป็นระบบสำหรับประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเผยแพร่ออกสู่ Homepage MOENet



Ïการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ ศธ. ตามกรอบนโยบายด้าน ICT
กระทรวงศึกษาธิการสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันและเข้าถึงการเรียนรู้ โดยยึดหลักการสร้างชาติสร้างคนและสร้างงาน มีปัญญาเป็นทุนในการสร้างงานและสร้างรายได้ ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การบริหาร ของนายกรัฐมนตรี (พ ต ท.ทักษิณ ชินวัตร) เข้ามาบริหารประเทศ พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายเร่งรัดในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษา ปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญได้มีความก้าวหน้าตามลำดับอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

animation by flash 8

เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
(บทความนี้ได้ปรับปรุงจากเอกสารชุดวิชาที่ผมเขียนให้แก่ทาง สมธ. )



การบริหารการศึกษามีความสำคัญมากเพราะการศึกษาของเยาวชนหรือคนในประเทศจะดีหรือเลว จะทำให้คนในประเทศแข่งขันกับคนในประเทศอื่น ๆ ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารการศึกษา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขึ้นอยู่กับผู้บริหารการศึกษาของบ้านเมืองนั่นเอง หากประเทศใดได้นักบริหารการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจงานด้านการศึกษา และผลกระทบของการศึกษาต่อความก้าวหน้าของประชาชนและประเทศชาติแล้ว ประเทศนั้นก็จะมีความรุ่งเรืองในทุกๆ ทาง ในทางตรงกันข้าม หากประเทศใดไม่มีนักบริหารการศึกษาที่เก่ง และ ทำงานโดยกำหนดเอาความก้าวหน้าและความรุ่งเรืองของประเทศชาติเป็นธงชัยแล้ว ก็ยากที่ประเทศนั้นจะรุ่งเรืองได้

การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปก็ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือทางปัญญาอีกหลายอย่าง เช่นBalanced Score Card, เครื่องมือการวางแผน, เครื่องมือการติดตามงาน ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ขอรวมเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา บทความนี้ต้องการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่ามีอะไรบ้าง โดยยังไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแต่ละประเภท



ความหมายของการบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย

การที่จะปรับปรุงการศึกษาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งเราเรียกว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นับตั้งแต่รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และ นักเรียนนักศึกษา หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้เพิกเฉย หรือไม่ร่วมมือสนับสนุนเสียแล้ว การปฏิรูปการศึกษาก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เองผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการปรับปรุงหรือปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นจะต้องรู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี

ระดับการจัดการศึกษาที่เล็กลงมาจากการปฏิรูปการศึกษา ก็คือการดูแลให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการศึกษานั้นอาจจะพิจารณาได้เป็นสองแนวทาง แนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาเอง และอีกแนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวกับการศึกษา

การจัดการเมื่อพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

การวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถาบันดำเนินไปอย่างราบรื่น อาทิ การวางแผนด้านหลักสูตร การวางแผนการสร้างอาคาร การวางแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ฯลฯ
การจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ งานนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาและประเมินการทำงานของบุคลากรด้วย
การจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี
การสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันเป็นไปอย่างราบรื่น และหากการดำเนินงานมีปัญหา ก็แก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการต่าง ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
การประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารจำเป็นจะต้องทราบตลอดเวลาว่า งานบริหารการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ และสามารถให้ผลงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพของการปฏิบัติงานและของผลงานด้วย
การจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารที่อยู่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะก็คือรายงานที่แสดงผลการประเมินการปฏิบัติงานที่กล่าวถึงไปแล้ว
การจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น

หากพิจารณาหัวข้องานจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอง ก็อาจจะแบ่งเป็นงานต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

งานจัดการหลักสูตร ได้แก่การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการร่างหลักสูตรที่คาดว่าน่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การพิจารณาอนุมัติหลักสูตร การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามหลักสูตร
งานจัดการนักศึกษา ได้แก่การประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาสมัครเข้ามาศึกษาในสถาบัน การลงทะเบียนนักศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
งานจัดการเรียนการสอน ได้แก่การกำหนดตารางการเรียนการสอน การจัดอาจารย์และวิทยากรมาสอน การจัดทำสื่อการสอน การสอบ การให้คะแนน
งานบริหารบุคลากร ได้แก่ การจัดหาบุคลากรระดับต่างๆ มาปฏิบัติงานในสถาบัน การพัฒนาบุคลากร การประเมินผล
งานจัดการงบประมาณ ได้แก่การพิจารณากำหนดงานที่จะต้องดำเนินการ การทำคำของบประมาณ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ
งานจัดการทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษา ได้แก่การจัดหา ควบคุม และ การดูแลรักษาทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี
งานจัดการห้องสมุด ได้แก่การจัดหาหนังสือและวารสาร การจัดสถานที่อ่าน การให้บริการยืมคืน การให้บริการค้นคืนข้อมูลและเอกสาร
งานจัดการศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ได้แก่การจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การให้บริการอาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต
งานจัดการเอกสาร ได้แก่การจัดระบบเอกสาร และ ระบบสารบรรณ
งานจัดการการสื่อสาร ได้แก่การจัดหาระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการการสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ โทรสาร การประชุมทางไกล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานให้บริการชุมชน ได้แก่การจัดการงานบริการต่างๆ ให้แก่ชุมชน เช่น บริการการศึกษาต่อเนื่อง การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน



ความหมายของเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา การบริหารการศึกษาตามแนวทางที่ได้อธิบายมาข้างต้นนั้นเป็นงานที่มีความซับซ้อนมาก และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับใช้ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วข้อมูลและสารสนเทศนั้นต้องเป็นปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้รับข้อเสนอจากอาจารย์กลุ่มหนึ่งว่าต้องการจัดตั้งสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้บริหารจึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นจัดทำหลักสูตรนี้ขึ้น ในการตัดสินใจว่าสมควรจะจัดตั้งสาขาวิชานี้หรือไม่ ผู้บริหารจะต้องทราบว่าหลักสูตรนี้มีความจำเป็นต่อประเทศหรือไม่ บัณฑิตที่จบไปแล้วจะมีงานทำหรือไม่ การเปิดสาขานี้ต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเป็นเท่าใด จะหาอาจารย์มาสอนได้จากที่ใด ฯลฯ หากผู้บริหารไม่ได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้แล้ว ผู้บริหารก็อาจจะตัดสินใจผิดพลาดได้

การตัดสินใจและการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิผลนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีปัจจัยที่สำคัญอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือการมีข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง และส่วนที่สองก็คือความรู้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ จะตัดสินใจอย่างไร หรือจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสม

การที่จะได้ข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องมาใช้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมมาช่วย ในสมัยก่อนเครื่องมือเหล่านี้ก็คือแฟ้มและแบบฟอร์มกระดาษสำหรับจดบันทึกข้อมูลต่างๆ สำหรับจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ในลักษณะที่จะเรียกค้นออกมาได้ เครื่องมือเหล่านี้รวมไปถึงสมุดบัญชี สมุดบันทึกการปฏิบัติงาน ทะเบียนรับจ่ายหนังสือ เครื่องคิดเลข พิมพ์ดีด ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้แม้หน่วยงานการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังคงใช้เครื่องมือเหล่านี้อยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น นั่นก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology) ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้ดีกว่าเครื่องมือแบบเดิมที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว

สำหรับในกรณีของการที่จะมีความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินการหลังจากได้รับข้อมูลและสารสนเทศแล้วนั้น เครื่องมือที่จะช่วยผู้บริหารได้ดีที่สุดก็คือการศึกษาทั้งจากในสถานศึกษา และ การศึกษาจากผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานในอดีต อย่างไรก็ตามในบางครั้งผู้บริหารอาจจะต้องประสบปัญหาต้องตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ได้เรียนรู้หรือไม่มีประสบการณ์มาก่อน ผู้บริหารก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออย่างอื่นมาช่วยตัดสินใจด้วย เครื่องมือที่น่าจะเป็นประโยชน์คือระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และจัดอยู่ในกลุ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่า เทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษาก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั่นเอง นอกจากนั้นเราอาจจะให้ความหมายเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้กว้างๆ ว่า เป็นเครื่องมือและวิธีการสำหรับช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษา การใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษาของผู้บริหารการศึกษาระดับต่างๆ นั้นโดยทั่วไปก็เพื่อให้งานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีประโยชน์ดังต่อไปนี้

ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลบางอย่างอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วก็สามารถค้นคืนข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน
ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเป็นรายงาน ตาราง กราฟ และ แผนภาพต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง
ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง
ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา
ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร การดำเนินงานได้ผลอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดได้
ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง

จากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักศึกษาจะเห็นว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานในปัจจุบัน เราอาจสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้ดังต่อไปนี้

เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้

ที่มา : http://www.drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html

แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา

ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา


http://www.pochanukul.com/?cat=11

เทคโนโลยีเพื่อการบริหารการศึกษา

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า www.paitoon-srifa.com/moodle )

ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290

ตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

ลองเข้าไปศึกษาดูค่ะ เผื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้


http://www.il.mahidol.ac.th/th/index.php/e-media.html

นวัตกรรมการศึกษาที่ควรรู้

นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาที่ควรรู้

ขณะนี้ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของพวกเรา กำลังมีโปรเจคใหม่ๆด้าน ICT ที่นำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หลายท่านก็ไม่ทราบว่าที่พูดคุยกันด้วยเรื่องของ Learning Object, e-Learning, Blended-Learning, U-Learning, M-Learning คืออะไร วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ

Learning object ชื่อย่อว่า LO หรือ RLO (Reusable Learning object) เป็นสื่อการสอนดิจิตอล หรือ หน่วยการสอนขนาดเล็กที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการจัดเรียงลำดับเนื้อหาใหม่เกิดเป็นบทเรียนเรื่องใหม่ขึ้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ หน่วยการเรียน และแบบทดสอบ ลักษณะของ Learning Object จะเป็นสื่อที่ออกแบบและสร้างเป็น “ก้อน” (Chunks) เล็กๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนสถานการณ์ของการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถใช้ซ้ำ (reusability) ทำงานร่วมกัน (interoperability) มีความคงทน (durability) และเข้าถึงได้ง่าย (accessibility)

e-Learning คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภททั้ง Online และ Offline เป็นช่องทางในการนำส่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั่นเอง

Blended-Learning คือ การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยเรียนผ่าน e-Learning ผสมผสานกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยมีสัดส่วนในการเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด ขึ้นอยู่กับวิชาที่เรียนด้วยค่ะ

M-Learning มาจากคำว่า Mobile Learning หมายถึง การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน การสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และ เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอก มหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง

U-Learning มาจากคำว่า Ubiquitous learning (อ่านว่า ยูบิควิตัส) หมายถึงการมีคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง เป็นสภาพแวดล้อมของสังคมในอนาคต ที่ต่อไปจะมีอินเทอร์เน็ตบนตู้เย็น เครื่องซักผ้า ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาแล้วในบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า นั่นก็หมายความว่าในอนาคตผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกแห่งหนนั่นเอง สถานศึกษาไม่จำกัดอยู่แค่ที่ตั้ง แต่ยังหมายถึงสถานที่ๆสามารถเข้าถึงได้จากทุกหนแห่งอีกด้วย

**M-Learning กับ U-Learning หลายท่านอาจจะสงสัยว่า 2 คำนี้ต่างกันอย่างไร

คำตอบ
M-Learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
แต่ U-Learning หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ทำให้สามารถเกิดเรียนรู้ได้ทุกหนแห่ง
U-Learning = e-Learning + m-Learning




รูป Learning Object สื่อแต่ละประเภทถูกนำมาใช้ร่วมกันในเว็บเพจ และเชื่อมโยงเป็นบทเรียน จนกลายเป็นหลักสูตรในที่สุด

LO ได้ถูกเปรียบเทียบให้เห็นว่าเป็นเสมือน Lego ที่สามารถต่อเชื่อม ปรุงใหม่ บูรณาการได้ตลอดเวลา


รูป พัฒนาการของ U-Learning ที่มาจากอีเลินนิ่งและเอ็มเลินนิ่ง



รูป Mobile ประเภทต่างๆ สังเกตดูนะคะมันไม่ได้หมายถึงมือถืออย่างเดียวนะคะ หมายถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่ทุกชนิดค่ะ

ศยามน อินสะอาด
หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาสื่อการศึกษา
ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ที่มา : http://ceit.sut.ac.th/tls/index.php?topic=15.0

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา (บุญเกื้อ,2543) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้
Thomas Hughes ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บุญเกื้อ ครวญหาเวช (2543) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากความหมายของ " นวัตกรรม " ที่กล่าวมา ดังนั้น " นวัตกรรมการศึกษา " คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/intro2.html

แนะนำตัว

นางธีรนุช ผาสุข (ครูติ๊ก)
เกิดวันที่ 8 มกราคม 2517 อายุ 36 ปี
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก
อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
โทรศัพท์ 0858448554